รัดเกล้าเสาแก้วมหามงคล

ธรรมะ คือ คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่เมื่อเราปฏิบัติตามแล้ว ใจจะใสสะอาดบริสุทธิ์จนกระทั่งเห็นธรรมภายใน คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นหลักธรรมที่จำทำให้ผู้ที่นำไปประพฤติปฏิบัติได้พบกับความสุข ความสงบ ประสบความสำเร็จในธุรกิจหน้าที่การงานและ ฯลฯ คุณของพระธรรมเรียกว่า “ธรรมคุณ” สรุปได้ 6 ประการ ดังนี้

1. “สวากขาโต ภควตา ธัมโม” หมายถึง พระธรรมเป็นคำสอนอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว เป็นความจริงแท้ เป็นหลักครองชีวิตอันประเสริฐ

2. “สันทิฏฐิโก” หมายถึง พระธรรมนี้ผู้ปฏิบัติตามจะเห็นได้ด้วยตนเอง ไม่ต้องเชื่อคำผู้อื่น ผู้ที่มิได้ปฏิบัตินั้นแม้จะมีใครมาบอกและอธิบายให้ฟังก็ไม่อาจเห็นได้

3. “อกาลิโก” หมายถึง ไม่เนื่องด้วยกาลเวลา ไม่ขึ้นอยู่กับเวลาปฏิบัติตามได้พร้อมบริบูรณ์เมื่อใดก็เห็นผลเมื่อนั้น เป็นจริงตลอดเวลาไม่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลสมัย สิ่งที่เนื่องด้วยเวลาเป็นสิ่งที่มีเกิด มีเปลี่ยนแปลง มีดับไปตามเวลา แต่พระธรรมเป็นจริงอยู่เสมอเป็นนิจ

4. “เอหิปัสสิโก” หมายถึง ควรเรียกให้มาดู พระธรรมเป็นคำสอนที่ควรจะเชิญให้ใครๆ มาดู มาพิสูจน์ มาตรวจสอบ เพราะเป็นของที่จริงตลอดเวลา

5. “โอปะนะยิโก” หมายถึง ควรน้อมเข้ามา คือ เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้าไว้ในใจเพื่อยึดถือเป็นหลักปฏิบัติในชีวิต จะได้บรรลุถึงความหลุดพ้น

6. “ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ” หมายถึง วิญญูชนรู้ได้เฉพาะตน พระธรรมนี้เป็นสิ่งที่วิญญูชนจะรู้ได้ และการรู้ได้นั้นเป็นของเฉพาะตน ต้องปฏิบัติตามจึงจะรู้ ทำแทนกันไม่ได้ แบ่งปันให้กันไม่ได้ ต้องประจักษ์ด้วยตนเอง

ธรรมะ คือ คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่เมื่อเราปฏิบัติตามแล้ว ใจจะใสสะอาดบริสุทธิ์จนกระทั่งเห็นธรรมภายใน คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นหลักธรรมที่จำทำให้ผู้ที่นำไปประพฤติปฏิบัติได้พบกับความสุข ความสงบ ประสบความสำเร็จในธุรกิจหน้าที่การงานและ ฯลฯ คุณของพระธรรมเรียกว่า “ธรรมคุณ” สรุปได้ 6 ประการ ดังนี้

1. “สวากขาโต ภควตา ธัมโม” หมายถึง พระธรรมเป็นคำสอนอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว เป็นความจริงแท้ เป็นหลักครองชีวิตอันประเสริฐ

2. “สันทิฏฐิโก” หมายถึง พระธรรมนี้ผู้ปฏิบัติตามจะเห็นได้ด้วยตนเอง ไม่ต้องเชื่อคำผู้อื่น ผู้ที่มิได้ปฏิบัตินั้นแม้จะมีใครมาบอกและอธิบายให้ฟังก็ไม่อาจเห็นได้

3. “อกาลิโก” หมายถึง ไม่เนื่องด้วยกาลเวลา ไม่ขึ้นอยู่กับเวลาปฏิบัติตามได้พร้อมบริบูรณ์เมื่อใดก็เห็นผลเมื่อนั้น เป็นจริงตลอดเวลาไม่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลสมัย สิ่งที่เนื่องด้วยเวลาเป็นสิ่งที่มีเกิด มีเปลี่ยนแปลง มีดับไปตามเวลา แต่พระธรรมเป็นจริงอยู่เสมอเป็นนิจ

4. “เอหิปัสสิโก” หมายถึง ควรเรียกให้มาดู พระธรรมเป็นคำสอนที่ควรจะเชิญให้ใครๆ มาดู มาพิสูจน์ มาตรวจสอบ เพราะเป็นของที่จริงตลอดเวลา

5. “โอปะนะยิโก” หมายถึง ควรน้อมเข้ามา คือ เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้าไว้ในใจเพื่อยึดถือเป็นหลักปฏิบัติในชีวิต จะได้บรรลุถึงความหลุดพ้น

6. “ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ” หมายถึง วิญญูชนรู้ได้เฉพาะตน พระธรรมนี้เป็นสิ่งที่วิญญูชนจะรู้ได้ และการรู้ได้นั้นเป็นของเฉพาะตน ต้องปฏิบัติตามจึงจะรู้ ทำแทนกันไม่ได้ แบ่งปันให้กันไม่ได้ ต้องประจักษ์ด้วยตนเอง

รูปแบบการฝึกอบรมที่ทางศูนย์ใช้ในการอบรม

 

การฝึกอบรมพระและสามเณรของศูนย์ปฏิบัติธรรมแก้วเมืองเลย จะปฏิบัติตามหลักความดีสากล 5 ประการ คือ ความสะอาด ความเป็นระเบียบ ความสุภาพ ความตรงต่อเวลา และฝึกสมาธิ ตัวอย่างเช่น หลังตื่นนอนต้องเก็บที่นอนและพับผ้าห่มทุกครั้ง ฉันภัตตาหารทุกมื้อโดยพร้อมเพรียงกัน ดูแลรักษาความสะอาดอาคารที่พัก ซักผ้าทุกวัน ปฏิบัติธรรมร่วมกันทุกวัน เป็นต้น โดยใช้ 5 ห้องในชีวิตประจำวันมาช่วยฝึกผ่านกิจวัตรพื่อปลูกฝังสัมมาทิฏฐิและนิสัยที่ดีซึ่งเป็นเรื่องที่จำเป็นและสำคัญที่สุด ดังนั้น ต้องปลูกฝังตั้งแต่เยาว์วัยและเป็นลักษณะการปฏิบัติเป็นกิจวัตรประจำวันจนกลายเป็นนิสัย จึงจะก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างแท้จริง 

กิจวัตร – กิจกรรมของพระและสามเณร

 

04.30 – 05.00 น.

ตื่นนอน

05.00 – 05.30 น.

ทำวัตรเช้า

05.30 – 05.45 น.

ออกบิณฑบาต

07.00 – 08.00 น.

กลับถึงศูนย์เพื่อฉันภัตตาหารเช้า

08.00 – 09.30 น.

รับบุญประจำวัน สามเณรบางส่วนมีเรียนก็จะเตรียมตัวไปโรงเรียนหลังฉันเช้าเสร็จ

09.30 – 10.30 น.

ปฏิบัติธรรมรอบสาย

11.00 – 12.30 น.

ฉันภัตตาหารเพล มีเรียนตอนบ่าย (สำหรับสามเณรที่บวชเรียน)

15.00 – 18.00 น.

กิจกรรมหล่อหลอมสามเณร เช่น ปลูกต้นไม้ พัฒนาศูนย์ เป็นต้น

18.00 – 19.00 น.

สรงน้ำ ทำภารกิจส่วนตัว

19.00 – 20.00 น.

ทำวัตรเย็น ปฏิบัติธรรมรอบค่ำ

20.00 -22.00 น.

ทบทวนบทเรียนต่างๆ (สำหรับสามเณรที่บวชเรียน)

22.00 น.

ปิดไฟ จำวัด

ความสุขที่สร้างได้ด้วยตัวเราด้วยสมาธิ

 

ในแต่ละวันเราต้องพบเจอกับความเครียดจากภารกิจ หน้าที่ และการงานต่างๆ ที่ต้องรับผิดชอบอยู่ตลอดเวลาเป็นสาเหตุให้เราไม่มีความสุข เมื่อเป็นอย่างนี้เราจึงต้องหาความสุขจากสิ่งต่างๆ รอบตัว เช่น ดูหนัง ฟังเพลง เล่นกีฬา มีความสุขจากการไปเที่ยวในสถานที่ต่างๆ หรือบางคนมีความสุขจากการรับประทานอาหารอร่อยๆ แต่ยังมีอีกสิ่งที่สามารถทำให้เราพบความสุขได้จากตัวเรา คือ “ความสงบ” ที่เกิดจากการปฏิบัติธรรม ดังพุทธพจน์ว่า

“ นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ ”

ความสุขอื่น ยิ่งกว่าความสงบไม่มี

การปฏิบัติธรรมก่อให้เกิดสมาธิ คือ ความสงบและความรู้สึกเป็นสุขที่เราสามารถสร้างขึ้นได้ด้วยตนเอง การปฏิบัติธรรมเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกคนควรเข้ามาศึกษาและฝึกปฏิบัติเพราะทุกคนสามารถปฏิบัติได้ง่ายๆ เพื่อการดำรงชีวิตในทุกวันอย่างเป็นสุขด้วยสติสัมปชัญญะและปัญญา

ศูนย์ปฏิบัติธรรมแก้วเมืองเลยมีกิจกรรมที่เหมาะสำหรับผู้ที่อยากมาปฏิบัติธรรม ได้แก่ สวดมนต์ทำวัตร นั่งสมาธิ ฟังธรรมะจากพระอาจารย์ ในโครงการปฏิบัติธรรม 3 วัน 

กิจกรรมสำหรับญาติโยมที่จัดขึ้นทั่วไป

 

06.30 น.

พิธีถวายภัตตาหารเช้า
(จัดทุกวัน)

10.30 น.

พิธีถวายภัตตาหารเพล
(จัดทุกวัน)

19.00 น.

ปฏิบัติธรรมรอบค่ำ
(ทุกวันพุธและวันเสาร์)

ถวายภัตตาหารเช้า

ถวายภัตตาหารเพล

ปฏิบัติธรรมรอบค่ำ

ปฏิบัติธรรมรอบค่ำ

ปฏิบัติธรรมรอบค่ำ

ปฏิบัติธรรมรอบค่ำ

โครงการบรรพชาอุปสมบทเพื่อสืบทอดอายุพระพุทธศาสนา

 

การบวชพระ เป็นประเพณีที่เกิดจากความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาของพุทธศาสนิกชน เมื่อผู้ชายมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ จะอุปสมบทเป็นพระภิกษุเพื่อทดแทนพระคุณของบิดามารดา ได้ฝึกฝนอบรมตนเอง แก้ไขนิสัยที่ไม่ดี และเมื่ออุปสมบทแล้วจะสามารถศึกษาพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้อย่างเต็มที่ โดยมีพระอาจารย์คอยแนะนำสั่งสอนอย่างใกล้ชิด

ดังนั้น ผู้ที่ผ่านการบวชแล้วจะมีความรู้และความเข้าใจความจริงของชีวิต เพราะพระพุทธศาสนาเป็นหลักคำสอนแห่งความจริงในโลก ช่วยให้มนุษย์มีสติสัมปชัญญะสามารถประพฤติตนได้ถูกต้อง ไม่ประพฤติผิดศีลธรม การอุปสมบทจึงมีความสำคัญโดยเฉพาะต่อผู้ที่จะเป็นหลักของครอบครัว ซึ่งสามารถนำข้อปฏิบัติที่ได้จากการบวชพระมาใช้ในการดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข

ศูนย์ปฏิบัติธรรมแก้วเมืองเลยได้จัดโครงการบรรพชาและอุปสมบทให้กับชายที่ปรารถนาจะเข้ามาศึกษาธรรมปฎิบัติกับพระอาจารย์ที่ศูนย์ปฏิบัติธรรม โดยมีโครงการดังนี้

โครงการบรรพชาสามเณร จัดในช่วงที่โรงเรียนปิดเทอม เพื่อให้เด็กๆ ที่หยุดเรียนได้มาบรรพชาสามเณรเพื่อศึกษาคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและปฏิบัติธรรมในช่วงปิดเทอม ทำให้เด็กๆ ได้ใช้เวลาในช่วงปิดเทอมอย่างคุ้มค่า

โครงการอุปสมบทพระภิกษุ มีระยะเวลาในการอบรมตั้งแต่ 30 วันขึ้นไป เพื่อให้ผู้ร่วมโครงการมีเวลาศึกษาธรรมะ ปฏิบัติธรรม และฝึกฝนอบรมตนเองให้เป็นพระแท้ เพื่อเป็นเนื้อนาบุญให้กับญาติโยม

โครงการจัดอบรมให้พระภิกษุและสามเณรบวชใหม่ มีพระภิกษุและสามเณรบวชใหม่ของวัดอื่นๆ ในจังหวัดเลยมาร่วมอบรมด้วย 

novice ordination
monk ordination

รูปแบบการฝึกที่ทางศูนย์ใช้ในการอบรม

 

การที่เราจะปฏิบัติธรรมได้อย่างสบายได้นั้น ต้องเริ่มฝึกที่ตัวเราเองก่อนทั้งในเรื่องกิจวัตรกิจกรรม โดยมีพื้นฐานมาจาก

  • หลักความดีสากล 5 ประการ คือ คุณลักษณะพื้นฐานที่จะพัฒนาตัวผู้ประพฤติให้มีคุณภาพ ทำให้มีความสงบเรียบร้อยในสังคม และเพื่อให้เกิดความคุ้นเคยควรฝึกฝนทุกวันจนเป็นนิสัย ประกอบด้วย 
    • ความสะอาด เช่น การซักผ้าทุกวัน การทำความสะอาดที่อยู่อาศัย เป็นต้น
    • ความมีระเบียบ เช่น การเก็บที่นอนทุกครั้งหลังตื่นนอน การจัดระเบียบสิ่งของ เครื่องใช้ต่างๆ เป็นต้น
    • ความสุภาพ เช่น การยิ้มแย้มแจ่มใส พูดคุยกันด้วยปิยะวาจา เป็นต้น
    • ความตรงต่อเวลา เช่น ทานข้าวพร้อมกัน ทำงานเป็นทีมโดยเริ่มพร้อมกันและเลิกพร้อมกัน เป็นต้น 
    • ความมีสมาธิ เช่น ฝึกการทำสมาธิ ฝึกใจหยุดใจนิ่ง เป็นต้น

คุณลักษณะเหล่านี้จะทำให้เราวางแผนการใช้ชีวิตได้สมบูรณ์แบบ

  • หลัก 5 ห้องชีวิต เพื่อให้ผู้ประพฤติได้ไตร่ตรองให้ถี่ถ้วน ว่าวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของห้องต่างๆ คืออะไร และได้สอนอะไรให้เราบ้าง ได้แก่
    • ห้องนอนหรือห้องแห่งการปลูกฝัง เป็นห้องที่พัฒนานิสัยรักบุญกลัวบาป พ่อแม่ต้องสอนลูกในห้องนี้ เพราะสิ่งแรกที่คนเราจะนึกได้เมื่อตื่นนอนคือ สิ่งสุดท้ายที่เราได้กระทำในเมื่อคืน
    • ห้องแต่งตัวหรือห้องพัฒนานิสัยตัดใจและใฝ่บุญ คือ การฝึกประคองใจให้ใส ไม่ไหลไปตามอำนาจกิเลส สิ่งประดับตกแต่งที่สวยงาม
    • ห้องน้ำหรือห้องแห่งการพิจารณา ใช้พิจารณความไม่งาม ความเสื่อมโทรมของร่างกายว่าร่างกายเรานั้นแก่ลงไปทุกวันๆ เป็นต้น
    • ห้องอาหารหรือห้องพัฒนานิสัย รู้ประมาณในที่นี้ หมายถึง การพูด การฟัง และการใช้ทรัพย์
    • ห้องทำงานหรือห้องพัฒนานิสัยใฝ่สำเร็จ ใช้ในการปลูกฝังสัมมาอาชีวะ ไม่หารายได้จากการทำผิดศีลธรรม ผิดกฎหมาย ผิดจารีตประเพณี 
  • การฝึกความมีวินัย มนุษย์เป็นสัตว์สังคม มนุษย์ไม่สามารถอยู่คนเดียวได้ถ้าไม่มีสังคม ดังนั้นการที่จะอยู่ร่วมกับคนในสังคมได้ โดยพื้นฐานต้องมีความมีระเบียบวินัย 
  • การฝึกการมีความเคารพ คือ การแสดงความนับถือ นอบน้อม ไม่ว่าสังคมใดผู้น้อยต้องมีความเคารพต่อผู้ใหญ่ ฆารวาสต้องมีความเคารพต่อพระภิกษุสามเณร สังคมนั้นจึงจะน่าอยู่ 
  • การฝึกความอดทน คือ การไม่ยอมแพ้หรือท้อแท้จากอุปสรรคที่กระทบกระทั่ง ไม่ว่าจะมีปัญหามามากเท่าใด การมีความอดทนก็สามารถผ่านไปได้  

หลักต่างๆเหล่านี้ มีวัตถุประสงค์เดียวกัน คือ สอนให้ผู้ประพฤติมีความรักในการทำบุญและมีความเกรงกลัวต่อบาป

ซักผ้าทุกวัน

รับบุญประจำวัน

เข้าแถวอย่างเป็นระเบียบ

เก็บที่นอนทุกครั้งหลังตื่นนอน

ขบฉันแบบเสขิยวัตร

มีความเคารพ อ่อนน้อม

ขบฉันให้ตรงเวลา

สวดมนต์ทำวัตร

เจริญสมาธิภาวนา

เมื่อมาที่ศูนย์ปฏิบัติธรรมแก้วเมืองเลยแล้ว เราทุกคนไม่เพียงแต่ได้ทำบุญกันอย่างชุ่มฉ่ำใจเท่านั้น แต่ยังได้หลักธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและข้อคิดดีๆ จากพระอาจารย์กลับไปอีกด้วย เพื่อเป็นกำลังใจในการฝึกฝน อบรม และพัฒนาตนเองให้เป็นต้นแบบที่ดีของคนในครอบครัวและสังคมที่เราอยู่ รวมถึงเป็นที่รักของคนรอบข้าง ทำให้เราทุกคนสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข